ทำไมต้องมีโรคหรืออาการต้องห้ามที่ห้ามขับรถ ⁉️
เวลาคุณต่ออายุใบขับขี่หรือทำใบขับขี่ใหม่ ทางกรมการขนส่งมักจะขอใบรับรองแพทย์เพื่อทำใบขับขี่เอาไว้ในเงื่อนไข เพราะความเจ็บป่วยทำให้สมรรถภาพร่างกายและสภาวะการตัดสินใจของผู้ขับขี่ลดลง จึงมีโอกาสสูงที่การขับรถครั้งนั้นจะเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งเรื่องนี้กรมการขนส่งทางบกได้ออกมาให้ข้อมูลใหม่อีกครั้ง เกี่ยวกับเรื่อง “โรคประจำตัวหรืออาการต้องห้ามที่ห้ามขับรถ” เอาไว้ด้วยกัน 9 ประเภท คือ
⚠️โรคลมชัก
ถ้าถามว่าโรคลมชักสามารถขับรถได้ไหม? คำตอบคือ “ไม่ได้” เพราะว่าโรคลมชักเกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าในเซลล์สมอง ถ้ามีสิ่งกระตุ้นอย่างความเครียดหรือปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ขณะขับรถ ก็จะทำให้ผู้ขับขี่มีอาการชักหรือเกร็ง จนเสียการควบคุมตนเองและเกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นในที่สุด
⚠️โรคเกี่ยวกับสายตา
โรคเกี่ยวกับสายตาที่ห้ามขับรถโรคที่ทำให้การมองเห็นของผู้ขับขี่บกพร่อง เช่น ต้อหิน ต้อกระจก ทำให้ผู้ขับขี่มีมุมมองสายตาที่แคบลง เวลามองสัญญาณไฟจราจรจะพร่ามัว หรือจอประสาทตาเสื่อม ทำให้มองเห็นเส้นทางในการขับรถตอนกลางคืนได้ไม่ชัด จึงมีโอกาสที่ผู้ขับขี่จะประสบอุบัติเหตุสูง
⚠️อาการหลงลืม
อาการหลงๆ ลืมๆ มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ซึ่งอาการหลงลืมนี้ส่งผลต่อการตัดสินใจขณะขับรถอีกด้วย เช่น ขับรถออกนอกเส้นทางไปในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย ทำให้เกิดกระบวนการตัดสินใจที่สับสน ไม่รู้ว่าจะต้องไปทางไหนต่อ ควรเลี้ยวซ้าย ขวา ตรงไป หรือถอยหลัง เมื่อมีความลังเลขณะขับรถก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุรถชน เช่น จะเลี้ยวซ้ายแต่ลืมว่าต้องเปิดไฟเลี้ยวรถยนต์ด้วย เลยทำให้ถูกรถคันอื่นขับรถชนท้าย
⚠️โรคหัวใจ
อย่างที่บอกไปว่าเมืองไทยเป็นเมืองรถติด ถ้าเจอรถติดนานๆ อาจทำให้ผู้ขับขี่เกิดความเครียด กดดันตัวเอง หรือเจอรถยนต์คันอื่นปาดหน้าแล้วผู้ขับขี่ต้องหักเลี้ยวรถจนสุดท้ายขับรถชนเสาไฟฟ้า ทำให้ผู้ขับขี่อาจเกิดอาการตกใจเฉียบพลัน และมีโอกาสมากที่ทำให้โรคหัวใจจะกำเริบระหว่างขับรถ นี่จึงเป็นเหตุที่คนมีโรคประจำตัวอย่างโรคหัวใจควรห้ามขับรถนั่นเอง
⚠️โรคเบาหวานระยะควบคุมไม่ได้
ผู้ป่วยเบาหวานขับรถได้ไหม คำตอบคือ “ผู้ป่วยเบาหวานในระยะควบคุมไม่ได้” ไม่สามารถขับรถได้ และพราะว่าเวลาที่ปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำลง จะทำให้ผู้ขับขี่หน้ามืด ใจสั่น เป็นลม หรือหมดสติ เลยมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถได้ แต่ในผู้ป่วยเบาหวานที่อาการไม่รุนแรงมากจำเป็นต้องขับรถ ควรเตรียมน้ำหวานหรือลูกอมเอาไว้ ป้องกันเวลาที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
⚠️โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดในสมองคือภาวะที่สมองขาดเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ เมื่อเซลล์สมองขาดออกซิเจนจึงทำให้สมองตาย ถ้าผู้ขับขี่มีโรคหรืออาการภาวะสมองขาดเลือดขณะขับรถก็จะทำให้ความไวต่อการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ลดลง เช่น เปลี่ยนเกียร์ไม่ทัน บังคับพวงมาลัยไม่ได้ สุดท้ายก็เกิดอุบัติเหตุรถชน
⚠️โรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันคือโรคที่เกิดจากความเสื่อมบริเวณสมองส่วนกลางและระบบประสาท โดยมีอาการที่เด่นชัดคือ สั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้า เมื่อเกิดขึ้นกับผู้ขับขี่จะทำให้สมรรถภาพในการบังคับรถลดลง เช่น บังคับพวงมาลัยไม่มั่นคง หรือหากอยู่ในระยะที่รุนแรงมากๆ อาจเกิดภาพหลอนระหว่างขับรถได้เช่นกัน
⚠️ข้ออักเสบ ไขข้อเสื่อม
โรคข้ออักเสบหรือไขข้อเสื่อมนับเป็นอุปสรรคต่อการขับขี่รถเป็นอย่างมาก เช่น เหยียบเบรครถยนต์หรือคันเร่งไม่ได้เรื่องจากปวดข้อเข่า หรือหันมองกระจกหลังหรือกระจกข้างได้ลำบากเพราะกระดูกคอเสื่อม เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวไม่ถนัด ก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุระหว่างขับรถได้
⚠️กินยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม
อาการป่วยบางประเภทที่ต้องกินยาบรรเทาอาการ แล้วยานั้นมีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน สับสน หรือมึนงง อาจทำให้ผู้ขับขี่มีประสิทธิภาพในการบังคับรถลดลง หรือตอบสนองต่อเหตุการณ์ตรงหน้าช้าลง เช่น เหยียบเบรครถไม่ทันแล้วรถแหกโค้ง หรือเข้าใจว่าเปิดไฟเลี้ยวจึงเลี้ยวรถ ซึ่งแน่นอนว่าความสับสนอย่างนี้จะตามมาด้วยอุบัติเหตุรถชนที่ไม่คาดคิด ร้ายที่สุดอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้เลย
🔰สรุป 🔰
และนี่คือ 9 โรคต้องห้ามที่กรมการขนส่งทางบกระบุเอาไว้ว่าห้ามขับรถ โดยจุดประสงค์หลักเพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นบนท้องถนน แต่ขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุก็ย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ ต่อให้ขับรถตามกฎหมายจราจรแค่ไหน ถ้าคันอื่นฝ่าฝืนข้อห้ามยังไงก็หนีไม่พ้น ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยคุ้มครองคุณเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนคือ “ประกันรถยนต์”
✅ขอบคุณ ข้อมูลดีดีจาก เงินติดล้อ
🔴สนใจสอบถามรายละเอียดนัดดูรถได้คับเราบริการขับให้ดูถึงที่เซ็นสัญญาถึงที่ยินดีให้คำปรึกษาทุกเงื่อนไขครับ
โทร/ไลน์ 0870586645 แคน
#Canusedcar
@canusedcar
📲https://m.facebook.com/canusedcar
📲http://bit.ly/36cmTXq
📌 https://goo.gl/maps/ntJ1nux4jJ8RbtW77 ดูน้อยลง
— ที่ รถมือสองเชียงใหม่ CanusedCar